Adverb - คำวิเศษณ์

Adverb - คำวิเศษณ์

Adverb (คำวิเศษณ์) คือ คำที่ใช้ใช้ขยายคำกริยา (Verb) ขยายคำคุณศัพท์ (Adjective) และยังขยายคำวิเศษ (Adverb) ด้วยกันเองอีกด้วย

หลักการใช้คำวิเศษณ์ (Adverb)

1. โดยส่วนใหญ่มักลงท้ายด้วย –ly แยกแยะได้ง่าย แต่อาจมียกเว้นบ้างบางคำ

2. ใช้เพื่อเพิ่มอารมณ์ความรูสึก หรือเพิ่มภาพในหัวให้ชัดเจนขึ้น… ดังตัวอย่าง

- ขยายคำกริยา (Verb)

ตัวอย่าง Mariya speaks English fluently.

คำแปล มารีญาพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว

คำอธิบาย ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ แบบงูๆ ปลาๆ ถามคำตอบคำ แต่สามารถพูดได้อย่างคล่องปรื้อ โดยขยายคำกริยา พูด ว่าพูดได้เป๊ะเวอร์

- ขยายคำคุณศัพท์ (Adjective)

ตัวอย่าง Mariya’s evening gown is really beautiful.

คำแปล ชุดราตรีมารีญาสวยจริงๆ

คำอธิบาย ไม่ได้สวยธรรมดา แต่สวยจริงสวยจัง สวยจนเห็นภาพความงามของชุด โดยขยายคำคุณศัพท์ สวย ว่าสวยสะดุดหยุดทุกสายตาเลยก็ว่าได้

3. ไม่สามารถวางไว้ระหว่างคำกริยา และกรรมตรงได้

ตัวอย่าง Mariya happily makes some new friends. หรือ Mariya makes some new friends happily.

คำแปล มารีญาทำความรู้จักเพื่อนใหม่บ้างอย่างมีความสุข

คำอธิบาย happily (อย่างมีความสุข) ไม่สามารถวางไว้ระหว่าง make (ทำ) กับ some new friend (เพื่อนใหม่บ้าง) หรือก็คือระหว่างกริยาและคำนาม แต่ต้องย้ายไปวางไว้ต่อหลังประธานหรือ ท้ายประโยค เหมือนดังตัวอย่าง

4. วางต่อตรงตามหลังกริยาได้ทันที แต่ต้องไม่มีกรรมต่อท้าย ขอย้ำ ไม่มีกรรมตามมานะจ๊ะ

ตัวอย่าง Mariya walks confidently like a model

คำแปล มารีญาเดินอย่างมั่นใจราวกับนางแบบ

คำอธิบาย confidently (อย่างมั่นใจ) ต่อท้าย walk (เดิน) ได้ทันที ส่วน like a model (ราวกับนางแบบ) ก็เป็นแค่ส่วนขยายก็เท่านั่นเอง

ปรเภทของคำวิเศษณ์ (Adverb)

1. Adverb of Manner (คำวิเศษณ์บอกคุณลักษณะ)

ใช้บอกลักษณะกิริยา อาการ โดยทำหน้าที่ขยายคำให้ชัดเจน ฟังหรืออ่านแล้วเห็นภาพได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น อาทิ well, badly, softly, loudly, quickly, slowly

ตัวอย่าง Pongsuk sings sweetly.

คำแปล ปองศักดิ์ร้องเพลงอย่างไพเราะ

คำอธิบาย sweetly (อย่างไพเราะ) ขยายคำกริยา sing (ร้องเพลง) ทำให้นึกภาพในหัวว่า ปองศักดิ์ร้องเพลงไม่ธรรมดานะ แต่ทว่าร้องอย่างไพเราะเพราะพริ้ง น้ำเสียงกินใจ ฟังแล้วบาดแทงเข้าลึกไปถึงขั้วหัวใจ

2. Adverb of Place (คำวิเศษณ์บอกคุณลักษณะ)

กล่าวถึงสถานที่ ที่มีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น โดยวางตามหลังกริยาหลัก หรือข้อความที่ใช้ขยาย แต่บางที ก็อาจไม่ได้ใช้ขยายคำคุณศัพท์หรือคำวิเศษณ์ อาทิ inside, outside, here, there, up, down, anywhere

นอกจากนี้ ถ้าพบ Here หรือ There อยู่ข้างหน้าประโยคแสดงว่าเป็นประโยคอุทาน หรือต้องการ ที่จะ เน้น เน้น เน้น ย้ำ ย้ำ ย้ำ+++

ตัวอย่าง Here you are!

คำแปล นี่ไงล่ะ

คำอธิบาย ในกรณีที่เราส่งสิ่งของให้ใครบางคนพร้อมกับพูดประโยคนี้ โดยเน้นการกระทำ ไปพร้อมกับคำพูด นั่นคือมือก็ส่งของ ปากก็บอกไปด้วย....เข้าใจกันตรงกันนะ

แต่ถ้าอยู่รวมกับคำบุพบทแสดงว่า เป็นวลีที่มีคำวิเศษณ์เป็นหลัก

ตัวอย่าง Namtan comes over here and lay by Phatcharapa’s side.

คำแปล น้ำตาลมาที่นี้และนอนเคียงข้างพัชราภา

คำอธิบาย over (เป็นคำบุพบท บอกตำแหน่ง) here (เป็นคำวิเศษณ์) เมื่ออยู่รวมกัน จึงเป็นวลี ที่เน้นคำวิเศษณ์ นั่นคือ ที่นี่ มาที่นี่ ไม่ใช่ที่นั่น ที่ตรงนู้น ที่ตรงโน้น

และหลายๆครั้งก็สามารถใช้ในตำแหน่งบุพบท โดยมีคำนามตามหลัง

ตัวอย่าง Bella dropped her phone in the toilet.

คำแปล เบลล่าทำมือถือของเธอตกอยู่ในห้องน้ำ

คำอธิบาย in (เป็นคำวิเศษณ์) the toilet (เป็นคำนาม) เมื่อรวมกันแล้วจะกลายเป็นคำบุพบท ซึ่งบอกตำแหน่งว่ามือถือตกอยู่ในห้องน้ำนะ ไม่ใช่ห้องนอน ห้องนั่งเล่นหรือห้องของใคร

3. Adverb of Time (คำวิเศษณ์บอกเวลา)

ใช้บอกเวลาเมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น โดยทั่วไปวางไว้ตำแหน่งท้ายประโยค อาทิ today, tomorrow, yesterday, now, soon, recently

ตัวอย่าง Davika will go to South Korea tomorrow.

คำแปล ดาวิกาจะไปเกาหลีใต้พรุ่งนี้

คำอธิบาย tomorrow (คำวิเศษณ์) บอกเล่าเหตุการณ์ว่าเป็นวันพรุ่งนี้ พรุ่งนี้ถึงจะเดินทางไป

แต่หากวางไว้หน้าประโยค ก็จะเน้นองค์ประกอบของประโยค

ตัวอย่าง Later the prince awakens Snow White with a kiss.

คำแปล หลังจากนั่น เจ้าชายปลุกสโนไวท์ให้ตื่นด้วยจูบหนึ่งครั้ง

คำอธิบาย เน้นไปที่ช่วงเวลา later (หลังจากนั่น) ก็เกิดเหตุการณ์ยังที่ประโยคข้างต้น หรือว่าวางไว้ก่อนกริยาหลัก ก็ถือเป็นภาษาเขียนอย่างเป็นทางการ

ตัวอย่าง The prince later awakens Snow White with a kiss.

คำแปล เจ้าชายหลังจากนั่น ก็ปลุกสโนไวท์ให้ตื่นด้วยจูบหนึ่งครั้ง

คำอธิบาย เป็นข้อความที่เป็นทางการ ราวกับว่าเป็นบทละคร มีคนอ่าน และมีคนแสดงตามบทอ่าน

4. Adverb of Frequency (คำวิเศษณ์บอกความถี่บ่อย)

ตามชื่อเด๊ะๆ บอกว่าบ่อยแค่ไหน ถี่เท่าไหร่ อาทิ always, hardly, ever, seldom, rarely, never

ทั้งหมดทั้งปวงนี้ไม่สามารถวางไว้หน้าประโยคได้ และถ้าใช้ hardly every หรือ never ต้องใช้ในรูปประโยคบอกเล่าเท่านั้น ใช้ปฏิเสธไม่ได้นะ มิฉะนั่นจะกลายเป็นปฏิเสธซ้อน คำวิเศษณ์นี้จะวางไว้หน้าคำกริยาหลัก หรือหลัง V.to be (is, am, are, was, were, been) ก็ได้นะ

ตัวอย่าง Cinderella never asked for a prince.

คำแปล ซินเดอเรลล่าไม่ขอเจ้าชายสักคนเดียว

คำอธิบาย never (ไม่เคย) อยู่หน้า ask (ขอ) ใช้ในประโยคบอกเล่า แต่มีความหมาย เป็นปฏิเสธ เพราะคำวิเศษณ์นี้คำแปล ไม่ ไม่เคยเลยสักครั้ง ไม่แม้แต่ครั้งเดียวเลยนะ

สำหรับ ever จะใช้ในประโยคคำถาม

ตัวอย่าง Have you ever been to Bangkok?

คำแปล คุณเคยไปกรุงเทพไหม

คำอธิบาย ever (เคย) ใช้ถามในประโยคคำถาม นะฮ่ะ

เมื่อใช้กริยาช่วย (can, could, may, might, ++) คำวิเศษณ์นี้จะอยู่ระหว่างกริยาช่วยและกริยาหลัก

ตัวอย่าง Jenny should always makes time for exercise.

คำแปล เจนนี่ควรมีเวลาสำหรับการออกกำลังกายบ่อยๆ

คำอธิบาย always (บ่อยๆ) วางระหว่าง should (ควร) และ make (ทำ) หรือก็คือคำวิเศษณ์ อยู่ตรงกลางระหว่างคำกริยาช่วยและกริยาหลัก...ตามนั่นนะ

แต่เราก็สามารถนำคำวิเศษณ์บางคำมาวางไว้หน้าประโยคได้ อาทิ usually, normally, often, frequency, sometimes, occasionally

ตัวอย่าง Sometimes Chompu goes swimming with her family.

คำแปล บางครั้งชมพูก็ไปว่ายน้ำกับครอบครัวของเธอ

คำอธิบาย sometimes (บางครั้ง) วางไว้หน้าประโยค ขยายความว่าบางครั้ง ไปบ้างไม่ไปบ้าง

และยังมีคำที่เฉพาะเจาะจงมากกว่านี้ อาทิ every day, once a week, twice a month, daily

ตัวอย่าง Sara goes shopping twice a week.

คำแปล ซาร่าไปจับจ่ายซื้อของสองครั้งต่อสัปดาห์

คำอธิบาย twice a week (สองครั้งต่อสัปดาห์) บอกความถี่โดยเฉพาะเจาะจงขึ้นมาว่าสองครั้งนะ ต่อหนึ่งสัปดาห์ โดยขยายความให้เข้าใจกันมากขึ้น


5. Adverb of degree (คำวิเศษณ์บอกระดับ)

ใช้บอกระดับความสุดโต่งขนาดไหน อาทิ too, very, enough, almost วางตามหลังคำคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์ และใช้ได้ทั้งประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

ตัวอย่าง Tesus has been waiting long enough.

คำแปล เตซัสรอมานานพอแหละ

คำอธิบาย enough (พอ) วางตามหลัง long (นาน) โดย พอ ขยายคำว่า นาน รวมว่า นานพอแหละหนา

กรณีตามด้วย to และคำกริยา

ตัวอย่าง Is Jarawi grows-up enough to get married?

คำแปล จารวีโตพอที่จะแต่งงานหรือไหม

คำอธิบาย enough (พอ) ตามด้วย to get married (แต่งงาน) โดย พอ ขยายคำว่า โต และเชื่อมโยงต่อว่า โตพอจะแต่งงาน ในรูปแบบประโยคคำถามก็ได้ค่า

และสามารถใช้ for ตามด้วย someone หรือ something

ตัวอย่าง Tesus is sincere enough for Jarawi.

คำแปล เตซัสจริงใจพอสำหรับจารวี

คำอธิบาย enough (พอ) ขยาย sincere (จริงใจ) เชื่อมความต่อว่า for Jarawi (สำหรับจารวี)

อีกคำหนึ่งคือคำว่า too มีความหมายเหมือนกับ also แปลว่า ด้วย

ตัวอย่าง Yanisa like this necklace too.

คำแปล ญาณิสาชอบสร้อยเส้นนี้ด้วยเหมือนกัน

คำอธิบาย too (ด้วยเหมือนกัน) ขยายข้อความให้ชัดเจนขึ้นว่าประธานในประโยค หรือญาณิสาก็ชอบสร้อยเส้นนี้เหมือนกัน และยังเปลี่ยนจาก too เป็น also ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังหมายความถึงอารมณ์แบบสุดๆ โดยวาง too ไว้ข้างหน้าคำคุณศัพท์หรือ คำวิเศษณ์ และใช้ได้ทั้งประโยคบอกเล่าและประโยคปฏิเสธ คือได้หมด...ถ้าสดชื่น แฮร่ๆๆ

ตัวอย่าง Nakhonsawan is too hot.

คำแปล นครสวรรค์ร้อนเกินไป

คำอธิบาย too (เกิน) เสริมทัพคำว่า ร้อน แปลอย่างสุดๆไปเลยว่าร้อนเกินไปแล้วโว้ย!!!

เมื่อตามด้วย to และคำกริยา

ตัวอย่าง Nakhonsawan is too hot to sleep.

คำแปล นครสวรรค์ร้อนเกินไปที่จะนอนหลับได้

คำอธิบาย too (เกิน) ขยายคำว่า ร้อน แล้วต่อด้วยบทโหดว่า ร้อนเกินกว่าจะนอนหลับลงไปได้

หากใช้ for ตามด้วย someone หรือ something

ตัวอย่าง Nakhonsawan is too hot for Tiffany.

คำแปล นครสวรรค์ร้อนเกินไปสำหรับทิฟฟานี่

คำอธิบาย too (เกิน) ใส่อารมณ์เพิ่มเติมว่า ร้อนขนาดนี้ มีหวังทิฟฟานี่ปาดเหงื่อแน่ แฮะๆๆ

คำต่อมา very จะวางก่อนหน้าคำคุณศัพท์หรือคำวิเศษณ์ หมายถึงทำให้โดดเด่น รุนแรง เข้มข้นขึ้น

ตัวอย่าง Cheetah runs very fast.

คำแปล เสือชีตาร์วิ่งเร็วมาก

คำอธิบาย very (มาก) เข้มข้นขึ้นว่า เสือชีตาร์วิ่งเร็วมากจริงๆนะ ไม่เชื่อลองไปชวนมาแข่งกันสิ

สุดท้าย ท้ายสุด บอกไว้เพราะน่าสนใจม๊าก too ใช้กับประโยคที่ราวดูมีปัญหา ส่วน very ใช้กับประโยคที่เป็นความจริงล้วนๆ แต่ทั้งสองคำนี้สามารถเติม not ข้างหน้า และใช้ในรูปปฏิเสธได้เลย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ร่วมแสดงความคิดเห็น