Verb - คำกริยา

Verb - คำกริยา

ตื่นนอนแต่เช้า ก็เอากระเป๋าสะพายบนบ่า ก็คงต้องไปข้างหน้า ไปตามดอกไม้ว่าหายไปไหน…

ร้องกันไปจนจบเพลงแล้วขอถามว่า ตื่นนอน สะพาย ต้องไป ตามหา คำศัพท์เหล่านี้ เรียกว่าอะไร?

คำศัพท์ที่ว่ามานี้ ก็คือ คำกริยา (Verb) บอกการกระทำ นอกจากนี้ยังรวมไปถึง บอกอาการ ความมีอยู่ หรือสภาวะความเป็นอยู่ อีกด้วย

1. Action verb (กริยาแสดงการกระทำ)

หรือ dynamic verb บอกอากัปกิริยา การเคลื่อนไหว ประกอบด้วย Transitive verb และ Intransitive verb

Transitive verb ว่าง่ายๆ ก็คือคำกริยาที่ต้องมีกรรมมาต่อท้าย ไม่ว่าจะเป็นคำนาม วลี หรือคำสรรพนาม เพื่อสื่อถึง คนหรือสิ่งของที่ถูกกระทบกระเทือนด้วยการกระทำของคำกริยานี้ โดยเขาว่ากันว่า สิ่งของจะเป็นกรรมที่ถูกกระทำตรงๆ ก่อน ส่วนคนเป็นกรรมที่ถูกกระทำรองลงมา

ตัวอย่าง Chakrit gave Kemika a diamond ring on their wedding day. หรือ Chakrit gave a diamond ring to Kemika on their wedding day.

แปลว่า ชาคริตมอบแหวนให้เขมิกาในวันแต่งงานของเขาทั้งคู่

คำอธิบาย กริยาในประโยคนี้ ก็คือ ให้ ให้อะไรล่ะจ๊ะ ให้แหวนเพชรงามๆ ให้ใครล่ะคะ แก่เขมิกา ว่าที่ภรรยาไงล่ะ มีกรรมมารับกริยา แบบตรงๆ นั่นคือแหวน กรรมรองๆ นั่นคือ คน ชื่อเขมิกา

สรุปแบบชัดๆ จัดปาย กรรมรองอยู่หน้ากรรมตรง คนอยู่หน้าสิ่งของ หรือมี to เชื่อม ของก็อยู่หน้าคนได้

Intransitive verb ตรงข้ามกับอันแรก ทว่าอันนี้ไม่ต้องมีกรรมมารับ จบแค่กริยาก็เข้าใจแล้ว

ตัวอย่าง Yada is sleeping.

แปลว่า ญาดากำลังนอนหลับ

คำอธิบาย ญาดานอนอยู่นะ รู้ยัง!! แค่นี้ก็เข้าใจแล้วว่าคนๆนี้นอนหลับอยู่ ก็พอจะมโนภาพออกมาได้หรอกหนา

2. Stative verb (กริยาแสดงสภาวะ)

คำกริยาที่มากกว่าการกระทำ มักจะเกี่ยวข้องกับความคิด ความสัมพันธ์ ประสาทสัมผัส การวัด อารมณ์หรือความรู้สึก การแสดงความเป็นเจ้าของ ดังนี้

agree, appear, believe, belong, concern, consist, contain, depend, deserve, disagree, dislike, doubt, feel, fit, hate, hear, imagine, impress, include, involve, know , like, love, matter, mean, measure, mind, need, owe, own, prefer, promise, realize, recognize, remember, seem, sound, suppose, surprise, understand, watch, weigh, wait

ตัวอย่าง This crown belongs to Zin.

แปลว่า มงกุฎนี้เป็นของซิน

คำอธิบาย belong เป็นคำกริยาเติม s เพราะประธาน This crown (มงกุฎนี้) มีสิ่งเดียว อันเดียว อะไรเดี่ยวๆเดียวๆ โดยทั่วไปกริยาต้องเติม s ส่วน belong แปลว่า เป็นเจ้าของ แสดงถึงสภาวะ การเป็นเจ้าของ ซึ่งคำกริยา ก็วางตามต่อ ประธานแบบนี้แหละนะ

แต่++ บางคำใช้ได้ทั้งกริยาบอกอาการและกริยาบอกสภาวะ แบบว่าเป็นไบ ฮึ ได้ทั้งสอง ซะงั้น ดังนี้เลย be, have, see, taste, think

ตัวอย่าง Arisa has a boyfriend. (Action verb)

แปลว่า อริสามีเพื่อนชายคนหนี่ง

ตัวอย่าง Arisa has a good time. (Stative verb)

แปลว่า อริสามีช่วงเวลาดีๆ

คำอธิบาย ประโยคแรกบอกอาการ บอกการกระทำ ประโยคที่สองบอกสภาวะความรู้สึก


3. Auxiliary verb (กริยาช่วย)

หรือ helping verb ใช้คู่กับคำกริยาหลักนะขอรับ ทุกท่าน แล้วจำเป็นต้องมีในประโยคปฏิเสธ และประโยคคำถาม นะคร๊าบ โดยส่วนใหญ่มีสามแบบ ดังนี้

V.to be (is, am, are, was, were, been)

V. to do (do, does, did)

V.to have (have, has, had)

ตัวอย่าง Toon doesn’t get tried.

แปลว่า ตูนไม่เหน็ดเหนื่อย

คำอธิบาย does เติม not เป็น doesn’t แปลว่า ไม่ ใช้ในรูปประโยคปฏิเสธ วางไว้ข้างหน้า กริยาแท้ หรือกริยาจริง หรือกริยาที่บอกความหมายของประโยค ส่วน get (ได้รับ) บวกกับ tried (เหนื่อย) รวมเป็น ได้รับความเหน็ดเหนื่อย พอวาง ไม่ อยู่ข้างหน้า ก็กลายเป็น ไม่ได้รับความเหน็ดเหนื่อย พี่ตูน สู้ๆๆ ว่าง่ายๆจะปฏิเสธหรือตั้งคำถาม อย่าลืมใช้กริยาช่วย V. to be, V. to do, V. to have เด้อค่าเด้อ

4. Modal verb (กริยาช่วย)

แต่ แต่ แต่ช้าแต่ ต่างกับกริยาช่วยอันแรก ตรงที่มันมีความหมาย ในตัวมันเองนะคร้า ดังนี้

can, could, may, might, must, ought to, shall, should, will, would

ตัวอย่าง Will you run with Toon?

แปลว่า คุณจะวิ่งกับตูนไหม

คำอธิบาย กริยาช่วย will (จะ) เห็นป่ะ มีความหมายในตัวเองนะ รวมกับ กริยาแท้ run (วิ่ง) แปลได้ว่า คุณจะวิ่ง with Toon (กับตูน) ขยายให้สวยงาม เป็นคำถามท้าทาย แบบแมนๆไปเลยว่า คุณจะวิ่งกับพี่ตูนไหวมั้ย

5. Phrasal verb (กริยาวลี)

ก็บอกแล้วว่า เป็นวลี ธรรมดาที่ไหน จำไว้ กริยารวมกับบุพบท หรือกริยารวมกับวิเศษณ์ เอ้าๆๆ ตามมาดูกันใกล้ๆ ไปเลย

ตัวอย่าง Fan bing bing dresses up like an angle.

แปลว่า ฟ่านปิงปิงแต่งตัวสวยราวกับนางฟ้า

คำอธิบาย dress (แต่งตัว) เป็นกริยา ตามต่อด้วย up (ขึ้น) เป็นบุพบท รวมแล้วว่า แต่งตัวส้วยสวย

6. Irregular verb (กริยาสามช่อง)

กริยาช่องสาม ห้า เจ็ด ไม่ใช่!! สามช่อง กริยาช่องแรกที่ใช้กับเหตุการณ์ปัจจุบัน กริยาช่องสองที่ใช้กับอดีตที่จบไปแล้ว และกริยาช่องสามใช้ในรูปของ Past Participle ลองมาทวนความรู้เก่าสักหน่อยไหม?

eat, ate, eaten รับประทาน

drink, drank, drunk ดื่ม

grow, grew, grown เติบโต

go, went, gone ไป

ตัวอย่าง Jessica bought new sunglasses yesterday.

แปลว่า เจสสิกาได้ซื้อแว่นตาอันใหม่เมื่อวานนี้

คำอธิบาย bought (ได้ซื้อ) เป็นกริยาช่องสอง สามช่อง ท่องไป!! buy bought bought

เนื่องจาก เจสบอกว่าได้ซื้อมาเมื่อวานนี้นะคะ ย้ำ เมื่อวานนี้ จึงต้องใช้กริยา แสดงเหตุการณ์ที่เป็นอดีตนั่นคือ กริยาช่องสอง bought นั่นเอง ง่ายๆ จบสวยๆ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ร่วมแสดงความคิดเห็น